ประเภทเจลาติน
Gelatin
เจลาติน
เจลาติน (อังกฤษ: gelatin) มาจากภาษาฝรั่งเศสว่า gélatine เป็นของแข็งโปร่งแสง ไม่มีสี เปราะ และแทบไม่มีรสชาติ ได้มาจากการแปรรูปคอลลาเจน (collagen) ที่มีอยู่ในผิวหนัง กระดูก รวมทั้งเนื้อเยื่อเกี่ยวพันของสัตว์ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่นิยมนำมาทำการผลิต เจลาตินจัดอยู่ในกลุ่มอาหาร มี E number คือ E441 มีการนำเจลาตินมาใช้ในการเป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์หลายชนิด
เจลาตินเป็นโปรตีนที่ได้การไฮโดรไลซ์คอลลาเจนด้วยความร้อนหรือใช้สารอื่นช่วย เช่น กรดหรือเบส[2] ทำให้โครงสร้างคอลลาเจนถูกทำลายและเปลี่ยนแปลงเป็นสารเจลาติน ในการสลายพันธะในคอลลาเจน ส่วนประกอบหลักที่พบในเจลาตินเป็นสายเกลียวของ α β และ γ วัตถุดิบในการสกัดเจลาตินคือกระดูก เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน และลำไส้บางส่วนของสัตว์เช่น โคกระบือ สุกร และม้า เป็นต้น พันธะระหว่างโมเลกุลของคอลลาเจนถูกเปลี่ยนให้อยู่ในรูปที่จัดเรียงตัวได้ง่ายขึ้น เจลาตินหลอมเหลวเมื่อได้รับความร้อนและแข็งตัวกลับเมื่อได้รับความเย็น
เจลาติน คืออะไร
แบ่งได้กี่ประเภท
เจลาติน
เป็นไฮโดรคอลลอยด์ (hydrocolloid) ซึ่งเป็นโปรตีน
(protein) ที่ได้จากการเสียสภาพธรรมชาติและสกัดได้จากคอลลาเจน
(collagen) โดยใช้ความร้อน กรด หรือด่าง
ทำให้โมเลกุลของคอลลาเจนเล็กลงจนเปลี่ยนเป็นเจลาติน
เจลาตินแบ่งได้กี่ประเภท แบ่งได้ 2 ประเภท คือ 1. ตามการใช้งาน 2. ตามแหล่งที่มา
1. ตามประเภทการใช้งาน แบ่งย่อยได้เป็น 2 แบบ คือ
1. เจลาตินที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร
2. เจลาตินที่ใช้ในอุตสาหกรรมยาและอาหารเสริม
2. ตามประเภทแหล่งที่มา แบ่งย่อยได้เป็น 2 แบบ คือ
1. เจลาตินจากพืช
2. เจลาตินจากสัตว์